วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่3 ความรู้เรื่องBlog

ความรู้เรื่อง Blogger


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ blogger


Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้ง 2 คำ บ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog) โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) ซึ่งรวมกันหมายถึง “ปูมเว็บ” หรือ บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง หรือ ถ้าจะขยายความมากไปกว่านั้น Blog ก็จะหมายถึง การบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ มีการจัดเรียง “เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่ด้านบนสุด ส่วนเรื่องเก่าก็จะอยู่ด้านล่างสุด ซึ่งจะมีวันที่-เวลาเขียนกำกับไว้ เป็นที่นิยมกันในหมู่มาก

มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นแค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลาย และครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างไดอารี่ จนถึงการบันทึกบทความเฉพาะด้านต่างๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องธุรกิจ เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อก เป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้นๆ มีการสื่อสารกับผู้อ่านผ่านทางระบบ comment และมีการถ่ายทอดอย่างเป็นกันเอง โดยบล็อกบางแห่งจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็เขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะเช่นเพื่อน หรือคนในครอบครัว Blog ให้ อิสระในการเขียนเรื่องอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้เขียน โดยจะสะท้อนบุคลิกของผู้เขียนออกมา ถ้าคนไหนเป็นคนตลก ก็จะเขียนออกมาได้สนุกสนาน น่าอ่าน, ใครชอบเลี้ยงสุนัขจะเล่าเรื่องสุนัขของตัวเอง เป็นต้น Blog มีทั้งบริการแบบเสียค่าใช้จ่าย และไม่เสียค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งมักจะติดตั้ง Tool ให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากนัก

Blogger สามารถแปลได้ 2 ความหมายคือ

1. คนเขียนบล็อก หรือเจ้าของบล็อกนั่นเอง
2. ระบบ update blog หรือ blog engine ที่เรียกว่า Blogger.com นั่นเอง

ซึ่งสามารถประเภทจำแนกได้คร่าวๆ ดังนี้

1. บล็อกเกอร์อิสระ นักเขียนบล็อกประเภทนี้จะเขียนบล็อกของตัวเอง โดยจำกัดบล็อกของตัวเองไว้ว่าเป็นบล็อกส่วนตัว สำหรับเขียนเรื่องราวส่วนตัว หรือความคิดส่วนตัว โดยไม่ได้นำเสนอบล็อกของตัวเองเพื่อการอย่างอื่น นอกจากการชมเพื่อความบันเทิง, ความสนุกในหมู่เพื่อนฝูง

2. บล็อกเกอร์แนวธุรกิจ => รับทำบล๊อกเกอร์
นักเขียนบล็อกกลุ่มนี้ มักจะเขียนเนื้อหาของ blog ที่เป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน คือใช้ blog เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดนั่นเอง

3. บล็อกเกอร์แบบองค์กร บล็อกเกอร์กลุ่มนี้ จะใช้ blog เพื่อเป็นการสื่อสารภายใน ไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กร เช่นภายในบริษัท หรือใช้สื่อสารภายในทีมฟุตบอล หรือสโมสรต่างๆ
4. บล็อกเกอร์มืออาชีพ บล็อกเกอร์ที่เขียนบล็อกอย่างเดียว โดยมีรายได้จากบล็อกเพื่อยังชีพ บางคนได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน ให้เขียนบล็อกอย่างเดียว บางคนเขียนบล็อกของตัวเอง โดยได้รับค่าโฆษณาต่างๆ จากผู้สนับสนุน กลุ่มนี้อาจเป็นบริษัทที่เขียนบล็อกโดยเฉพาะ ที่เห็นชัดเจนก็คือ blogger ชาวต่างประเทศ เพราะเขียนให้คนอ่านมากๆ แล้วใช้โฆษณาของ Google Adsense มาติดไว้ บางคนมีก็รายได้จากการเป็น presenter ให้สินค้าต่างๆ

การสรา้งบล๊อค



1.ให้เราทำการพิมพ์ในช่อง URL ด้านบนว่า www.blogspot.com หรือการเข้าสู่เว็บ blogspot นั้นเอง ตามภาพด้านบน



2.ก็จะได้หน้าตาเป็นแบบนี้ให้เราทำการล๊อกอินเข้าไป โดยใช้ Gmail ของเรา



3.พอทำการล๊อกอินเสร็จก็จะได้หน้าตาเป็นแบบนี้ให้ทำการคลิกที่ บล๊อกใหม่




4.พอมาถึงหน้านี้
– ในช่องหัวข้อ ให้เราทำการตั้งชื่อหัวข้อของบล๊อกของเรา(เรื่องที่เราจะเขียนบล๊อก หรือ Title)
– ในช่องที่อยู่ ให้เราทำการตั้งชื่อ URL ของเรา อาทิเช่น gunoob.blogspot.com , cnx-it.blogspot.com เป็นต้น (.blogspot.com จะมาการเติมให้โดยอัตโนมัติ ให้พิมพ์แค่ gunoob หรือ cnx-it)
– ในช่องแม่แบบ ให้เราทำการเลือก รูปแบบของบล๊อกหรือ Theme นั้นเอง (แนะนำให้ใช้แบบง่าย ธีมสามารถเปลี่ยนภายหลังได้)


5.จะได้อกมาเป็นแบบนี้ให้ทำการคลิกเข้าไปเลย (ของผมได้ทำการสร้างใว้ก่อนแล้ว)



6.จะได้หน้าต่างเป็นแบบนี้ให้ทำการคลิกที่ บมความใหม่ เพื่อทำการเขียนบทความหรือ blog


7.พอได้หน้าตาแบบนี้ให้เราทำการเขียนบล๊อก หรือบทความที่เราต้องการได้เลย

– ในช่องโพสต์ด้านบนตัวหนังสือสีส้ม ให้เราทำการเขียนหัวข้อหรือหัวเรื่อง บทความที่เราต้องการเขียน
– การเขียนบทความ ข้อมูล หรือบล๊อกนั้นสามารถทำการเขียนได้ใช้ กระดาษ ตรงกลางหน้า
– ด้านขวามือจะมีป้ายกำกับ ให้เราทำการคลิกเพื่อพิมพ์ คำ ที่ผู้อื่นสามารถค้นบทความของเราเจอได้
– การใส่ลิ้งให้ทำการคลิกที่ ลิ้ง ในแทบเครื่องมือ เพื่อทำการใส่ URL ที่เราต้องการลิ้ง
– การใส่รูปภาพ สามารถทำได้โดยการคลิกที่ แทกรูปภาพ ด้านขวา ลิ้ง ในแทบเครื่องมือ แล้วทำการเลือกไฟล์เพื่ออัพโหลดรูปภาพแล้ว คลิกรูปภาพที่ต้องการเลือก แล้วกดเพิ่มรายการที่เลือก

– ถ้าทำการเขียนบทความเสร็จ ให้ทำการคลิกที่ เผยแพร่ เพื่อทำการเผยแพร่บทความที่สามารถให้ผู้อื่นได้อ่าน หรือเข้าชมได้


8.การเปลี่ยนธีม ตามที่เราต้องการ ให้ทำการคลิกที่ แม่แบบ จะมีให้เราเลือกธีมตามที่เราต้องการ ถ้าจะเอาอันไหนให้ทำการคลิก แล้วกด ใช้กับบล๊อก(ปุ่มสีส้ม)เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ (ธีมเราสามารถออกแบบเองและทำเองตามที่เราต้องการได้)


การใส่เพลง




การใส่ปฏิทิน



การใส่โค๊ดเมาส์




























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ใบความรู้ที่5 บทความสำหรับโครงงานคอมพิวเตอร์ "การเอาชนะความขี้เกียจ"

ใบงานที่ 5 บทความ การเอาชนะความขี้เกียจสำหรับโครงงานคอมพิวเตอร์ "การเอาชนะความขี้เกียจ" ที่มา :  https://www.dek-d.c...